top of page
บ้านน็อคดาวน์ทำจากอะไร
7.jpg

โครงสร้างตัวบ้าน

>>บ้านน็อคดาวน์ของเราใช้โครงสร้างเหล็กแบบกัลวาไนซ์ มีความแข็งแรงสามารถกันแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ดี และยังมีคุณสมบัติในการป้องกันสนิมได้อีกด้วย ดังนั้น หากลูกค้าจะสร้างบ้านใกล้ทะเลแล้วก็ไม่จำเป็นต้องกลัวเหล็กขึ้นสนิม

01-SCG-HOME-ไฟเบอร์ซีเมนต์-โครงสร้างเหล็กผนังเบา-แผ่นสมาร์ทบอร์ด-ไม้เทียม.jpg

ผนังบ้านสำเร็จรูป

>>บ้านน็อคดาวน์ของเราทุกหลังใช้วัสดุผนังแบบสมาร์ทบอร์ดหรือ ไฟเบอร์ซีเมนต์จาก SCG เป็นวัสดุหลักในการใช้ทำเป็นผนังบ้านเป็นวัสดุที่ไม่นำความร้อนเข้าสู่พื้นผิวถึง 2 เท่า สามารถกันความชื้น กันแดด กันความร้อน และกันเปลวไฟได้ถึง 10 ปี แม้ว่าจะเจอกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ก็ไม่ทำให้แผ่นสมาร์ทบอร์ดแตกหัก หรือเปื่อยยุ่ย

l_2882_1366791357196294404.jpg

ฉนวนกันความร้อน

>> โฟมก่อสร้าง หรือ EPS โฟมนั้นเป็นแกนสำคัญในชั้นผนังของบ้านน็อคดาวน์ ทำหน้าที่เสมือนอิฐในบ้านปูนปกติ แต่มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ สามารถกันความร้อนและกันเสียงเข้าออกตัวบ้านได้ดีมาก ทำให้บ้านน็อคดาวน์มีความเย็นสบายแม้ภายนอกจะอากาศร้อนก็ตาม

668689.jpg

วัสดุหลังคาบ้าน

>>ปกติบ้านน็อคดาวน์ทุกหลัง ลุกค้าสามารถเลือกวัสดุหลังคาได้เอง โดยปกติแล้วทางเราจะใช้เป็นเมทัลชีท หรือ ซิงเกิ้ลรูฟ พร้อมฉนวน PU โฟมกันความร้อน ในการปูหลังคาตัวบ้าน

00-กระเบื้ื้องยางลายไม้-กระเบื้องไวนิล-พื้นไม้ไวนิล.jpg

วัสดุปูพื้นบ้าน

>>วัสดุที่ใช้เป็นพื้นบ้านน็อคดาวน์นั้นลูกค้าสามารถเลือกสรรได้หลายแบบ มีทั้ง พื้นกระเบื้องยางลายไม้ , พื้นกระเบื้องปกติ,พื้นไม้ไวนิล โดยส่วนมากแล้วจะใช้เป็นพื้น SPC ลายไม้ ที่ทนการกระแทก ไม่บวมน้ำและทำความสะอาดง่าย

ฐานราก.jpg

ระบบฐานราก

>>ฐานรากของบ้านแต่ละหลังจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับขนาดบ้านหรือพื้นที่ของคุณลูกค้านั้นๆด้วย ฐานรากสามารถทำได้ทั้งแบบ ตอหม้อ,ลงเสาเข็ม,ยกสูงหรือเทพื้นคอนกรีตต่างๆ ลูกค้าสามารถให้ช่างในพื้นที่เตรียมไว้เองหรือให้ทางเราจัดการก็ได้ตามความสะดวก

ปลูกบ้านน็อคดาวน์ ขอเลขที่บ้านได้ไหม?

        บ้านน็อคดาวน์สามารถขอเลขที่บ้านได้ตามปกติเหมือนบ้านทั่วไป  เพราะถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ตราบใดที่การก่อสร้างเป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต  และตั้งอยู่บนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง  สามารถยื่นขอเลขที่บ้านได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่บ้านตั้งอยู่

ปลูกบ้านน็อคดาวน์ต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างไหม?

       การปลูกบ้านน็อคดาวน์นอกจากจะต้องขอบ้านเลขที่แล้ว  ยังต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างเช่นเดียวกับบ้านทั่วไป  โดยต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างจากหน่วยงานท้องถิ่นก่อนเริ่มก่อสร้าง  พร้อมแนบแบบแปลนและรายการคำนวณที่ผ่านการรับรองจากวิศวกรและสถาปนิก  หากเอกสารถูกต้อง  เจ้าหน้าที่จะออกใบอนุญาตให้ภายใน 45 วันทำการ 

บ้านน็อคดาวน์ ขอบ้านเลขที่มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

1.ตรวจสอบและเตรียมเอกสาร​

  • เอกสาร ท.ร.9 ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านโดยหน่วยงานท้องถิ่น 

  • ใบอนุญาตก่อสร้าง 

  • โฉนดที่ดินหรือเอกสารแสดงสิทธ์การครอบครองที่ดิน 

  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน และบัตรประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้านหรือผู้แทน 

  • รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการเสร็จแล้ว 3 ด้าน (หน้า, หลัง, และด้านข้าง) 

2.ยื่นคำร้องขอเลขที่บ้าน

    นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น  พร้อมกรอกแบบฟอร์มคำร้องขอเลขที่บ้าน (ท.ร.900)  ให้ครบถ้วน โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและออกใบรับคำร้องให้

3.การตรวจสอบสถานที่

    เจ้าหน้าที่จะนัดหมายเพื่อเข้าตรวจสอบสถานที่จริง  เพื่อยืนยันว่าบ้านน็อคดาวน์ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยตามแบบที่ได้รับอนุญาต และมีความมั่นคงแข็งแรงเหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย

4.รับเลขที่บ้านและทะเบียนบ้าน

    หลังจากผ่านการตรวจสอบแล้ว  เจ้าหน้าที่จะดำเนินการออกเลขที่บ้านและทะเบียนบ้าน  ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 7-30 วันทำการ  ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่ เมื่อได้รับแจ้งให้ไปรับเอกสาร  เจ้าของบ้านต้องไปรับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน

บ้านน็อคดาวน์
สามารถขอกู้สร้างบ้านกับธนาคารได้หรือไม่?

ระเภทสินเชื่อที่สามารถใช้ขอกู้บ้านน็อคดาวน์

  1. สินเชื่อสร้างบ้าน 

    • ธนาคารส่วนใหญ่ปล่อยกู้สร้างบ้านที่มี โครงสร้างถาวรและมีโฉนดที่ดินรองรับ

    • หากบ้านน็อคดาวน์สามารถติดตั้งแบบถาวร และมีฐานรากมั่นคง อาจขอสินเชื่อสร้างบ้านได้

    • ต้องมี แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ และจดทะเบียนเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร

  2. สินเชื่อบ้านพร้อมที่ดิน 

    • หากมีโฉนดที่ดินและต้องการสร้างบ้านน็อคดาวน์ อาจสามารถยื่นกู้ในรูปแบบ สินเชื่อบ้านพร้อมที่ดิน ได้

    • ธนาคารอาจพิจารณามูลค่าที่ดินเป็นหลัก และอาจให้วงเงินครอบคลุมค่าบ้านด้วย

  3. สินเชื่ออเนกประสงค์ / รีไฟแนนซ์ที่ดิน 

    • หากบ้านน็อคดาวน์ไม่ได้รับการพิจารณาเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร สามารถใช้สินเชื่ออเนกประสงค์ เช่น รีไฟแนนซ์ที่ดิน หรือ จำนองที่ดิน แทน

    • ได้เงินก้อนจากการรีไฟแนนซ์เพื่อนำมาสร้างบ้านน็อคดาวน์เอง 

 

 

ปัญหาที่อาจทำให้กู้ไม่ผ่าน

  • บ้านน็อคดาวน์บางประเภทถือเป็นสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว และธนาคารไม่สามารถใช้เป็นหลักประกันได้

  • ไม่มีโฉนดที่ดิน – หากไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาจต้องใช้สินเชื่อประเภทอื่น

  • ราคาบ้านต่ำเกินไป – บ้านน็อคดาวน์มักมีราคาถูกกว่าบ้านทั่วไป ทำให้ธนาคารอาจไม่ปล่อยกู้หากมูลค่าบ้านต่ำ

 

 

วิธีเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อบ้านน็อคดาวน์ให้ผ่าน

  1. เลือกบ้านน็อคดาวน์ที่ติดตั้งแบบถาวร – ต้องมีฐานรากมั่นคงและสามารถจดทะเบียนเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวร

  2. ยื่นกู้ร่วมกับที่ดิน – หากที่ดินมีโฉนด สามารถใช้เป็นหลักประกันเพื่อเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อ

  3. ปรึกษาธนาคารก่อนตัดสินใจ – ติดต่อธนาคารที่สนใจ เช่น ธอส., กรุงไทย, ไทยพาณิชย์ หรือกสิกรไทย เพื่อสอบถามเงื่อนไข

 

 

   

bottom of page